วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 กรกฎาคม  2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED  3207 เวลา 14.10 - 17.30 น.

บันทึกเข้าเรียนครั้งที่ 4

               อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ทำสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษในเรื่องของ การวาดภาพลงบนกระดาษที่เป็นเรื่องราวหลายๆแผ่นพร้อมกับให้ลองเปิดกระดาษแบบเร็วๆ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่วาดจะกลายเป็นเรื่องราวขึ้นมา และอาจารย์ก็ได้ให้ดู เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ   น้ำมีสถานะ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ความมหัศจรรย์ของน้ำมีมากมายในการทดลองและทำให้ได้ทราบว่าความหนาแน่นของน้ำเกลือมีมากกว่าน้ำจืด และสิ่งนี้ก็จะทำให้วัตถุลอยตัวขึ้นมาได้ดีในน้ำเกลือ และในเรื่องของการทดลองเกี่ยวกับน้ำ มีดังนี้ ปรากฎการท่อรูเข็ม แรงตึงผิว แรงดันของน้ำ การตกปลาน้ำแข็ง การระเหยของน้ำ การเปลี่ยนของแข็งให้เป็นไอน้ำ และการเกิดฝน  ตาม Mind mapping 




    ก่อนเลิกเรียนอาจารย์ก็ได้สั่งงาน ดังนี้

  • ให้นักศึกษาไปหาสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้มาคนละ 1 อย่าง พร้องทั้งบอกอุปกรณ์และวิธีทำ 
  • ให้นักศึกษานำใบไม้ชนิดใดก็ได้มา 2-3 ใบ  แล้วนำไปสอดในหนังสือแล้วทับใบไม้ให้แห้ง 
วันจันทร์  1 กรกฎาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 3207 เวลา 14.10 - 17.30 น.



บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

         อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันสรุปงานจากสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมทั้งนำเสนอเป็น mind mapping พร้อมกัน โดยให้นักศึกษาได้ร่วมพูดคุยและตอบคำถามกันในแต่ละหัวข้อดังนี้
  
1. ความหมายทางวิทยาศาสตร์
2. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
3. ทฤษฎีทางสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
7. วิธีการทางสมมติฐาน

ได้สรุปเป็น mind mapping ดังนี้







และหลังจากนั้น อาจารย์ ก็ได้ให้ดู ความลับของแสง   วัตถุที่ทำให้เกิดแสง มีดังนี้

วัตถุโปร่งแสง   แสงสามารถจะทะลุผ่านไปได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า
วัตถุโปร่งใส     แสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส พลาสติกใส
วัตถุทึบแสง     แสงสามารถผ่านไปไม่ได้ เช่น ไม้ เหล็ก หรือ ร่างกายของคน

ในเรื่องความลับของแสง ก็จะมี เรื่องของการ สะท้อนของแสง   การหักเหของแสง   เงากับแสง  คุณสมบัติของแสง แสงเดินทางเป็นเส้นตรง   เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 3207 เวลา 14.10 - 17.30 น.


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


              อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 6 คน และในแต่ละกลุ่ม อาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 
 1. ความหมายทางวิทยาศาสตร์
 2. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
 3. ทฤษฎีทางสติปัญญา
 4. การเรียนรู้
 5. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
 6. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         ดิฉันก็ได้หัวข้อเรื่อง การเรียนรู้  อาจารย์ให้แต่ละคนอ่านเนื้อหาทั้งหมดพร้อมสรุป
 อ่านหัวข้อละ 5นาที แล้วก็ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบหัวข้อที่ได้รับไปสรุปให้กลุ่มอื่นๆฟังพร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นลงในกระดาษ 

กลุ่มดิฉันได้เรื่องของการเรียนรู้สรุปได้ดังนี้
         การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงของเส้นประสาทหลายๆเส้นเชื่อมต่อกัน ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่เพิ่มขึ้นมา แต่ถ้าเกิด สมองไม่ได้มีการเกิดการพัฒนาขึ้น เส้นใยของสมองก็จะหยุดการเชื่อมโยง


สรุปเนื้อหาของแต่ละหัวข้อดังนี้


ความหมายทางวิทยาศาสตร์ 
     พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2545 : 744) ความรู้ได้จากการสังเกตค้นคว้า แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ หลักฐาน เหตุผล แล้วจัดเป็นระเบียบ
    Dr.Arther A. carin  ความรู้ผ่านการทดสอบยืนยันมาแล้วและสะสมอย่างมีระบบ
วิทยาศาสตร์ก็คือการศึกษาสิ่งแวดล้อมตามธรรมาชาติ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบ นำมาปรับปรุงชีวิต

ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
    วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาความคิด คิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทถกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์


การเรียนรู้
    การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงของเส้นประสาทหลายๆเส้นเชื่อมต่อกัน ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่เพิ่มขึ้นมา แต่ถ้าเกิด สมองไม่ได้มีการเกิดการพัฒนาขึ้น เส้นใยของสมองก็จะหยุดการเชื่อมโยง


แนวคิดทางวิทยาศาสตร์    
                                 
    แนวคิดทางวิทยาศาสตร์มี5ประการ คือ 
1. การเปลี่ยนแปลง เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆเช่น เวลา น้ำหนัก เป็นต้น 
2. ความแตกต่าง ให้เด็กเข้าใจความแตกต่าง ความเหมือน การสังเกตรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สังเกตถึงธรรมชาติ 
4.พึ่งพาอาศัยกัน ให้เด็กเห็นธรรมชาติเพื่อที่จะสามารถปรับตัวได้ 
5. ความสมดุล ต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวมีความกลมกลืน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
กำหนดปัญหา
ตั้งสมมติฐาน
ลงมือกระทำ
วิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลและนำไปใช้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติลงมือกระทำค้นคว้าอย่างมีระบบ ผลผลิตคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะต้องมีกระบวนการและผลผลิตเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอเพราะต้องเฝ้าสังเกตวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) เด็กทำเสร็จ และต้องดูผลงาน (ผลผลิต)

กิจกรรมพาเพลิน


             อาจารย์ให้ดู นิทานวิทยาศาสตร์เรื่อง สนุกกับอากาศมหัศจรรย์ 
ในนิทานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ได้มีการทดลอง วิทยาศาสตร์เรื่องของกาศหลายอย่าง เช่น
แรงดันอากาศ  อากาศร้อนอากาศเย็น อากาศก็มีน้ำหนักเป็นต้น



จันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED 3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


บันทึกการเรียนรู็ครั้งที่ 1


ความรู้ที่ได้รับ


        ในรายวิชานี้ อาจารย์ก็ได้สร้างข้อตกลงกับนักศึกษาและได้พูดถึงเทคนิคการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้พัฒนาในการทำบล็อกต่อไป วันนี้ก็ได้เรียนรู้ในเรื่องของทักษะการทำบล็อกเกอร์ที่แปลกใหม่และอาจารย์ก็ได้ให้การบ้านนักศึกษาในเรื่องของการทำบล็อกเกอร์การประยุกต์ใช้ในการทำบล็อกเกอร์สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตในเรื่องของการทำงานในด้านเทคโนโลยีในการสอนเด็กต่อไปได้